aaa
 
หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมงานบุญ | ติดต่อกับผู้ผลิต | 
ค้นหาผลิตภัณฑ์  
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ทั้งชนิดน้ำพร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
ข้าวกล้องเพาะงอกเบญจกระยาทิพย์
ที่มาของกาแฟ
กระดูกอ่อนฉลามและคอลลาเจน
ที่มาของรังนก
INS 401 คืออะไร
คารายากัม คืออะไร
งานวิจัยซุปไก่สกัด
กลูตาไธโอนคืออะไร
ความเป็นมาของกำลังช้างสาร
สรรพคุณของโชวู
Coenzyme Q10 คืออะไร
โสมกับสุขภาพ
ประโยชน์ของตังถั่งเช่า
สรรพคุณของจับเลี้ยง
ความเป็นมาของทุเรียน
ความเป็นมาของเห็ดหลินจือ
ความเป็นมาของเห็ดไมตาเกะ
ความเป็นมาของตังกุย
ประโยชน์ของเห็ดจีซง
ถาม - ตอบ เรื่องเอนไซม์
ประวัติของโรคเบาหวาน
ความเป็นมาของน้ำมันมะพร้าว
ประโยชน์ของเขากวางอ่อน
ประโยชน์ของผลส้มแขก
ประโยชน์ของจันทน์เทศ
ประโยชน์ของชาใบหม่อน
คุณค่าของมะรุม
ความเป็นมาของผลหม่อน
ประโยชน์ของเมล็ดองุ่นแดง
สรรพคุณของดอกคำฝอย
สรรพคุณของไข่มุก
สรรพคุณของโกฐหัวบัว
สรรพคุณของโกฐเขมา
สรรพคุณของอึ้งคี้หรือปักคี้
สรรพคุณของกำลังวัวเถลิง
สรรพคุณของกำลังหนุมาน
สรรพคุณของกระชายดำ
สรรพคุณของแปะก๊วย
ประโยชน์ของม้าน้ำ
ความเป็นมาของผักชีลาว
สรรพคุณของดอกอัญชัน
สรรพคุณของดอกทองพันชั่ง
สรรพคุณของว่านหางจระเข้
สรรพคุณของใบบัวบก
สรรพคุณของนมผึ้ง
สรรพคุณของต้นไหลเผือก
สรรพคุณของพลูคาว
ความเป็นมาขององุ่น
สรรพคุณของมังคุด
สรรพคุณของหัวไชเท้า
คุณสมบัติของต้น Wicth Hazal
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งชนิดน้ำ
พร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล
บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไทยรัฐ
ข่าวสด
เดลินิวส
มติชน
สยามธุรกิจ
บ้านเมือง
แนวหน้า
กรุงเทพธุรกิจ
โพสต์ทูเดย
 
 
 
 
 
 
นฬปานชาดก
ตโยธัมมชาดก
วัณณุปถชาดก
ติตติรชาดก
วานรินทชาดก
มหิฬามุขชาดก
มหาอุกกุสชาดก
ติปัลลัตถมิคชาดก
มหาวาณิชชาดก
พระจูฬปันถกเถระ
พกชาดก
มุณิกชาดก
 
 
 
 

 
 
กำลังวัวเถลิง
 
ชื่ออื่น : กำลังทรพี , ชะแมบ (ตราด) , ช้าวัวเถลิง (ประจวบคีรีขันธ์) ,ปูน (สุราษฎร์ธานี) , ปูนทา (นราธิวาส), แหลขี้ควาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anaxagorea luzonensis A.Gray
วงศ์ : ANNONACEAE
 
สรรพคุณตามตำรับยาไทย
บำรุงโลหิต ทำธาตุให้บริบูรณ์ บำรุงเส้นเอ็น แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย บำรุงกำลัง บำรุงกระดูกให้แข็งแรง เป็นยาอายุวัฒนะ
 
ศักยภาพทางเภสัชวิทยา
จากการศึกษาสารสกัดจากเถาลำต้นของกำลังวัวเถลิงด้วย 50% แอลกอฮอล์ พบว่าพืชชนิดนี้มีสารองค์ประกอบอยู่ในกลุ่มแทนนินส์
ทั้งที่เป็น hydrolysable tannins และ condensed tannins ในปริมาณไม่สูงมาก
มีฟลาโวนอยด์ทั้งประเภท anthocyanidin, leucoanthocyanidin, catechin, aurone, flavone, dihydroflavonol,
และ flavonol และมีสารในกลุ่มอัลคาลอยด์ มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ (EC50 = 23.55ไมโครกรัม/มล.)
มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย S. mutans ที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากที่ความเข้มข้น 0.39 มก./มล.
มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย S. aureus ที่ทำให้เกิดโรคแผลฝีหนองที่ความเข้มข้น 3.125 มก./มล.
และเชื้อ V. cholerae ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอหิวาตกโรคที่ความเข้มข้น 3.125 มก./มล.
มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อราสาเหตุของโรคกลากที่ความเข้มข้น 8 มก./มล.มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อไวรัส
โรคเริม Herpes simplex virus type 1 (IC50 = 58.16 ไมโครกรัม/มล.)
สารสกัดกำลังวัวเถลิงไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ทั้งในภาวะที่มีและไม่มีเอนไซม์ แต่สามารถลดฤทธิ์ในการก่อกลายพันธุ์
ของสารมาตรฐานที่ทดสอบได้ดีเมื่อมีการทำงานของเอนไซม์ในตับร่วมด้วยโดยมีค่า IC50 เท่ากับ 8.02 และ 8.88 มก./plate
และมีความเป็นพิษต่อเซลล์ม้ามโดยให้ค่า IC50 = 129.5 มก./มล. มีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งตับปานกลาง
(IC50 = 163.5±11.7 ไมโครกรัม/มล.) พบว่ามีความเป็นพิษต่อเซลล์ปกติเช่นกัน
และไม่พบว่ามีความสามารถเหนี่ยวนำให้เซลล์มะเร็งตับตายแบบอะพอพโทซิส เมื่อเซลล์ได้รับสารสกัดนาน 1 วัน
 
ที่มาของข้อมูล : - http://www.thaikasetsart.com
                          ไทยเกษตรศาสตร์ เว็บรวบรวมวิชาความรู้ด้านการเกษตรของไทย
                        - http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/
                          search_detail.asp?Botanic_ID=2459

                          ระบบสืบค้นข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
                        - https://home.kku.ac.th/orip2/thaiherbs/index.php/2013-05-04-04-15-42/14-2013-05-04-05-42-29
                          อพ.สธ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 

 
อาการปวดเมื่อย มาจากสาเหตุอะไร
 
ความหมาย เมื่อย คือ เป็นอาการเหน็ดเหนื่อย รู้สึกอ่อนล้า หมดแรง หรือขาดพลังงาน เมื่อเกิดอาการขึ้นแล้วจะทำให้ตัวบุคคลนั้น ๆ สูญเสียสมาธิ ไม่มีแรงกระตุ้น และมีพลังงานในการกระทำสิ่งใด ๆ ลดน้อยลง รวมถึงอาจกระทบต่อสภาพอารมณ์
และสุขภาพจิตของบุคคลนั้นได้ด้วย อาการเมื่อยอาจเกิดจากการทำงานหรือกิจกรรมอย่างหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรืออาจเป็นอาการที่เกิดจากการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ได้ ตั้งแต่โรคที่มีความรุนแรงน้อยไปจนถึงโรค
ที่ค่อนข้างรุนแรงและเป็นอันตรายต่อชีวิต นอกจากนี้อาจมีอาการเมื่อยอันเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยา ขาดการออกกำลังกาย หรือรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขอนามัยได้เช่นกัน หากได้รับประทานอาหารและพักผ่อนอย่างเพียงพอแล้ว
แต่อาการเมื่อยล้ายังไม่หายไป ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา และหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการ ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่
 
สัญญาณสำคัญของอาการเมื่อยที่ควรไปพบแพทย์
- มีอาการเมื่อยล้าที่หาสาเหตุไม่ได้ ร่วมกับมีไข้ น้ำหนักลด
- ปัสสาวะน้อยมาก หรือไม่ปัสสาวะเลย
- ท้องผูก น้ำหนักขึ้น ผิวแห้ง หนาวง่าย
- ตัวบวมขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน
- นอนไม่หลับ หลับ ๆ ตื่น ๆ ตลอดทั้งคืน
- เวียนศีรษะ สับสนมึนงง
- สายตาพร่ามัว มองเห็นเป็นภาพเบลอ
- เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก
- หายใจถี่ หายใจไม่อิ่ม
- หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ หรือหัวใจเต้นแรง
- ปวดศีรษะตลอดเวลา
- ปวดท้อง ปวดท้องน้อย หรือปวดหลังอย่างรุนแรง
- รู้สึกเหมือนจะเป็นลม หรือรู้สึกเหมือนกำลังจะขาดใจตาย
- มีภาวะเลือดออก เช่น อาเจียนเป็นเลือด หรือมีเลือดไหลออกจากทวาร
- รู้สึกเศร้าโศกเสียใจ
- มีความคิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย หรือการทำร้ายตัวเอง
- มีความคิดหรือความกังวลว่าจะทำร้ายผู้อื่น
 
หากผู้ป่วยมีอาการเมื่อยล้าอย่างเรื้อรังยาวนานกว่า 2 สัปดาห์ โดยที่อาการไม่ดีขึ้นแม้จะผ่านการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และผ่อนคลายความตึงเครียดไปแล้ว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาเช่นกัน
 
สาเหตุของอาการเมื่อย
- ทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงอย่างหนัก เช่น ออกกำลังกายอย่างหนัก ยกของหนัก ลากของหนักเป็นเวลานาน ๆ
- ขาดการออกกำลังกาย หรือการทำกิจกรรมที่เพิ่มความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อร่างกายส่วนต่าง ๆ
- นอนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ
- น้ำหนักเกิน หรืออยู่ในภาวะอ้วน
- อยู่ในช่วงมีประจำเดือน ซึ่งมีสภาวะทางอารมณ์ไม่คงที่
- รับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขอนามัย
- บริโภคคาเฟอีนจากกาแฟหรือชามากจนเกินไป
- ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ หรือการใช้ยาเสพติด
- การเดินทางข้ามเขตเวลาโลก
- การใช้ยาที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงเป็นอาการเมื่อยล้าหมดแรง เช่น ยาแก้ไอ ยาแก้ปวด ยาต้านฮิสตามีน
   ยารักษาความดันโลหิต ยาขับปัสสาวะ ยารักษาโรคหัวใจ ยาสเตียรอยด์ ยาคลายกังวล ยาต้านเศร้า ยานอนหลับ เป็นต้น
- การบำบัดรักษาโรค เช่น เคมีบำบัด รังสีบำบัด
- ป่วยด้วยโรคหวัด หรือไข้หวัดใหญ่
- ภาวะขาดธาตุเหล็ก , โรคโลหิตจาง และโรคเบาหวาน
- โรคปวดกล้ามเนื้อ หรือมีอาการเจ็บปวดบริเวณใดบริเวณหนึ่งอย่างเรื้อรัง
- มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน เช่น นอนไม่หลับ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ โรคลมหลับ
- ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าหรือน้อยกว่าปกติ
- ภาวะข้ออักเสบ หรือข้ออักเสบรูมาตอยด์
- โรคแอดดิสัน (Addison Disease) ที่ต่อมหมวกไตทำงานได้น้อยกว่าปกติ
- ความผิดปกติเกี่ยวกับการกิน เช่น โรคคลั่งผอมหรือโรคกลัวอ้วน (Anorexia Nervosa) ทำให้ผู้ป่วยอดอาหาร
- โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
- โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เช่น โรคพุ่มพวง (Lupus)
- เจ็บป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับตับหรือไต เช่น ตับวายเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง
- ป่วยด้วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือโรคถุงลมโป่งพอง ซึ่งมักเกิดจากการสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน
- ภาวะติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อจากปรสิต โรคไวรัสตับอักเสบ วัณโรค การติดเชื้อเอชไอวี
- ศีรษะกระแทก สมองถูกกระทบกระเทือนหรือได้รับบาดเจ็บ
- โรคทางเส้นประสาท เช่น เส้นประสาทส่วยปลายถูกกด โรคปลอกประสาทอักเสบ
- โรคมะเร็งต่าง ๆ
- โรคหัวใจ เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะเยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อแบคทีเรีย
- กลุ่มอาการล้าเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome) ซึ่งเป็นอาการเมื่อยล้าอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 6 เดือนขึ้นไป
 
การรักษาและการป้องกันอาการเมื่อย
- นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
- ดื่มน้ำเปล่าในปริมาณมาก ๆ ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ถูกหลักโภชนาการและสุขอนามัยในปริมาณที่เหมาะสม
- ไม่ดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ไม่สูบบุหรี่ และไม่ใช้ยาเสพติด
- ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมสม่ำเสมอ ไม่ออกกำลังกายอย่างหนักจนเกินไป
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้แรงอย่างหนัก ไม่หักโหมทำงานหนัก หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ มากจนเกินไป
- พักผ่อนร่างกายด้วยกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น การเล่นโยคะ หรือการนั่งสมาธิ
- หลีกเลี่ยงการเผชิญกับความเครียด หรือหลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความเครียด
- เรียนรู้วิธีจัดการกับความเครียด แก้ไขปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่อย่างเหมาะสม
- ผ่อนคลายจากความเครียดด้วยการพักผ่อน การไปท่องเที่ยว หรือการทำกิจกรรมที่สร้างความบันเทิง
- หากกำลังเจ็บป่วยและอยู่ในระหว่างการพักฟื้นรักษาตัว ต้องรับประทานยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.pobpad.com/เมื่อย
 

 
 
aaa